วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

การพูดสุนทรพจน์


การพูดสุนทรพจน์
การพูดสุนทรพจน์ เป็นการพูดที่มีลักษณะของการใช้ถ้อยคำภาษาที่งดงามสละสลวย เป็นการพูดในโอกาสสำคัญ ที่มุ่งให้ความรู้และแสดงความคิดเห็น และถือเป็นการพูดในที่ชุมนุมชน ผู้กล่าวสุนทรพจน์มักจะเป็นบุคคลสำคัญหรือเป็นผู้มีอาวุโสในที่นั้น เช่น อาจารย์ใหญ่ ประธานสมาคม ถึงแม้ว่าในวัยนักเรียนอาจจะไม่ค่อยมีโอกาสที่จะได้กล่าวสุนทรพจน์บ่อยครั้งนักก็ตาม แต่นักเรียนก็ควรจะได้ฝึกหัดเพื่อเตรียมความพร้อม หรือเพื่อเป็นหลักในการฟังสุนทรพจน์ของบุคคลผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพศรัทธา
ก่อนอื่นนักเรียนจะต้องเรียบเรียงบทพูดสุนทรพจน์โดยการเลือกใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสหรือกาลเทศะ แล้วเลือกถ้อยคำประโยคหรือข้อความที่ไพเราะ สละสลวย คมคาย เพื่อความประทับใจผู้ฟัง และควรแทรกความคิดเห็นที่เป็นคติเตือนใจด้วย
ในกล่าวสุนทรพจน์ เรามักใช้วิธีการพูดแบบอ่านจากต้นฉบับ ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องแม่นยำ แต่ก็ควรระมัดระวังว่าให้เป็นทำนองของการพูดมิใช่การอ่าน และผู้พูดต้องฝึกซ้อมให้ดีก่อนการพูดจริง จึงจะทำให้การพูดการอ่านต้นฉบับนั้นราบรื่นไม่ติดขัด และน่าสนใจ ไม่ฟังเป็นเสียงอ่านจนมากเกินไป ขณะเดียวกันท่าทางการพูดสุนทรพจน์โดยอ่านจากต้นฉบับนั้น เราควรเงยหน้าดูผู้ฟังเป็นระยะๆ ด้วย เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ และแสดงถึงบุคคลิกที่สง่างาม

พูดได้ พูดเป็น
การพูด เป็นทักษะการสื่อสารที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมาก เพราะในวันหนึ่งๆ เราต้องติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การพูดทำให้เราได้รับรู้และมีความเข้าใจตรงกัน ทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ ประกอบการงานและดำเนินงานได้อย่างปกติสุข บางคนอาจคิดว่าการพูดนั้นเป็นเรื่องง่าย เพราะเกิดมาก็สามารถพูดได้ทุกคน แต่ในความเป็นจริง หลายคนประสบปัญหา เพราะพูดไม่เป็นและพูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถ สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้ตรงกับความต้องการของตน นักเรียนเห็นหรือไม่ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะการพูดไม่เป็นนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะปัญหาส่วนตนเท่านั้น แต่ยังขยายเป็นปัญหาระดับชาติด้วย ดังนั้น เราจึงควรเห็นความสำคัญของการศึกษาเรื่องการพูดและหมั่นฝึกฝนปรับปรุงการพูดของตนอยู่เสมอ

พูดเป็นเฟ้นถ้อยคำ
ผู้พูดหลายคนประสบความสำเร็จ เพราะรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำภาษาได้เหมาะเจาะ ผู้คนติดใจการรู้จักการเลือกใช้ภาษาหรือคำพูดจึงเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่นักเรียนควรทราบและหมั่นฝึกเพื่อพัฒนาการพูดของตน
การใช้ถ้อยคำและการใช้ภาษาในการพูดให้ถูกต้องเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้รอบรู้และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของผู้พูด ผู้พูดที่รู้จักเลือกใช้ภาษาที่สั้นกะทัดรัด แต่ได้ใจความครบถ้วน ย่อมทำให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจนและเกิดความประทับใจในตัวผู้พูด ขณะเดียวกันผู้พูดที่ใช้ภาษาไม่เป็น พูดยาวเยิ่นเย้อ พูดวกไปวนมา ย่อมทำให้การพูดล้มเหลวและพูดฟังสับสน นักเรียนจึงควรเข้าใจลักษณะสำคัญของภาษาไทย รู้จักสะสมถ้อยคำสำนวนต่างๆ ที่ไพเราะและมีความหมายดีเพื่อนำมาใช้ประกอบการพูดให้น่าสนใจ ซึ่งจะได้แนะนำดังต่อไปนี้

การพูดเพื่อเข้าสังคม
การพูดระหว่างบุคคลถือเป็นการติดต่อสื่อสารในสังคม เมื่อเราต้องพบปะผู้อื่นอยู่เสมอก็ย่อมต้องมีการพูดคุยทักทายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การสนทนาจึงเป็นกิจกรรมการพูดที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักเรียนควรจะกระทำตัวเป็นผู้สนทนาที่ดีเพื่อเสริมสร้างมิตรภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
การสนทนากับบุคคลที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เป็นการสนทนากับบุคคลใกล้ชิด สนิทสนม หรือได้รู้จักกันมาบ้างแล้ว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแนะนำตัวกันอีก อย่างไรก็ตาม การสนทนาประเภทนี้ก็จะต้องเริ่มจากการทักทายกันแล้วจึงสนทนาในเรื่องต่าง ๆ ต่อไป
การสนทนากับบุคคลแรกรู้จัก เป็นการสนทนากับบุคคลที่ได้พบกันครั้งแรก ดังนั้นจึงควรจะเริ่มด้วยการแนะนำตัวเองก่อน หรือมีคนกลางช่วยแนะนำให้รู้จักกันก่อน แล้วจึงเริ่มสนทนาต่อไปตามมารยาทที่มีในสังคม เพื่อให้นักเรียนนักเรียนได้รู้มารยาทสังคมในการแนะนำตนเอง และการแนะนำให้รู้จักกัน ก็จะขอ

การพูดสนทนา
คำว่า สนทนา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความไว้คือ การคุยกัน การพูดจาหารือกัน ดังนั้นคำจำกัดความของ การสนทนา คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยความคิดเห็น ความรู้สึก ซึ่งกันและกัน
ตามปกติแล้วการสนทนาจะเริ่มด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาพบปะกัน แล้วมีการทักทายกันก่อน หลักจากนั้นจึงเป็นการสนทนากันต่อไป โดยผลัดกันเป็นผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งหากนักเรียนลองทบทวนจากประสบการณ์ของตนเอง นักเรียนจะพบว่าการสนทนานี้มีการสนทนานี้มี 2 แบบ คือ การสนทนากับบุคคลที่รู้จักกันดีแล้ว และการสนทนากับบุคคลแรกรู้จัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น