วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

การพูดสุนทรพจน์


การพูดสุนทรพจน์
การพูดสุนทรพจน์ เป็นการพูดที่มีลักษณะของการใช้ถ้อยคำภาษาที่งดงามสละสลวย เป็นการพูดในโอกาสสำคัญ ที่มุ่งให้ความรู้และแสดงความคิดเห็น และถือเป็นการพูดในที่ชุมนุมชน ผู้กล่าวสุนทรพจน์มักจะเป็นบุคคลสำคัญหรือเป็นผู้มีอาวุโสในที่นั้น เช่น อาจารย์ใหญ่ ประธานสมาคม ถึงแม้ว่าในวัยนักเรียนอาจจะไม่ค่อยมีโอกาสที่จะได้กล่าวสุนทรพจน์บ่อยครั้งนักก็ตาม แต่นักเรียนก็ควรจะได้ฝึกหัดเพื่อเตรียมความพร้อม หรือเพื่อเป็นหลักในการฟังสุนทรพจน์ของบุคคลผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพศรัทธา
ก่อนอื่นนักเรียนจะต้องเรียบเรียงบทพูดสุนทรพจน์โดยการเลือกใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสหรือกาลเทศะ แล้วเลือกถ้อยคำประโยคหรือข้อความที่ไพเราะ สละสลวย คมคาย เพื่อความประทับใจผู้ฟัง และควรแทรกความคิดเห็นที่เป็นคติเตือนใจด้วย
ในกล่าวสุนทรพจน์ เรามักใช้วิธีการพูดแบบอ่านจากต้นฉบับ ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องแม่นยำ แต่ก็ควรระมัดระวังว่าให้เป็นทำนองของการพูดมิใช่การอ่าน และผู้พูดต้องฝึกซ้อมให้ดีก่อนการพูดจริง จึงจะทำให้การพูดการอ่านต้นฉบับนั้นราบรื่นไม่ติดขัด และน่าสนใจ ไม่ฟังเป็นเสียงอ่านจนมากเกินไป ขณะเดียวกันท่าทางการพูดสุนทรพจน์โดยอ่านจากต้นฉบับนั้น เราควรเงยหน้าดูผู้ฟังเป็นระยะๆ ด้วย เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ และแสดงถึงบุคคลิกที่สง่างาม

พูดได้ พูดเป็น
การพูด เป็นทักษะการสื่อสารที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมาก เพราะในวันหนึ่งๆ เราต้องติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การพูดทำให้เราได้รับรู้และมีความเข้าใจตรงกัน ทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ ประกอบการงานและดำเนินงานได้อย่างปกติสุข บางคนอาจคิดว่าการพูดนั้นเป็นเรื่องง่าย เพราะเกิดมาก็สามารถพูดได้ทุกคน แต่ในความเป็นจริง หลายคนประสบปัญหา เพราะพูดไม่เป็นและพูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถ สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้ตรงกับความต้องการของตน นักเรียนเห็นหรือไม่ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะการพูดไม่เป็นนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะปัญหาส่วนตนเท่านั้น แต่ยังขยายเป็นปัญหาระดับชาติด้วย ดังนั้น เราจึงควรเห็นความสำคัญของการศึกษาเรื่องการพูดและหมั่นฝึกฝนปรับปรุงการพูดของตนอยู่เสมอ

พูดเป็นเฟ้นถ้อยคำ
ผู้พูดหลายคนประสบความสำเร็จ เพราะรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำภาษาได้เหมาะเจาะ ผู้คนติดใจการรู้จักการเลือกใช้ภาษาหรือคำพูดจึงเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่นักเรียนควรทราบและหมั่นฝึกเพื่อพัฒนาการพูดของตน
การใช้ถ้อยคำและการใช้ภาษาในการพูดให้ถูกต้องเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้รอบรู้และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของผู้พูด ผู้พูดที่รู้จักเลือกใช้ภาษาที่สั้นกะทัดรัด แต่ได้ใจความครบถ้วน ย่อมทำให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจนและเกิดความประทับใจในตัวผู้พูด ขณะเดียวกันผู้พูดที่ใช้ภาษาไม่เป็น พูดยาวเยิ่นเย้อ พูดวกไปวนมา ย่อมทำให้การพูดล้มเหลวและพูดฟังสับสน นักเรียนจึงควรเข้าใจลักษณะสำคัญของภาษาไทย รู้จักสะสมถ้อยคำสำนวนต่างๆ ที่ไพเราะและมีความหมายดีเพื่อนำมาใช้ประกอบการพูดให้น่าสนใจ ซึ่งจะได้แนะนำดังต่อไปนี้

การพูดเพื่อเข้าสังคม
การพูดระหว่างบุคคลถือเป็นการติดต่อสื่อสารในสังคม เมื่อเราต้องพบปะผู้อื่นอยู่เสมอก็ย่อมต้องมีการพูดคุยทักทายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การสนทนาจึงเป็นกิจกรรมการพูดที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักเรียนควรจะกระทำตัวเป็นผู้สนทนาที่ดีเพื่อเสริมสร้างมิตรภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
การสนทนากับบุคคลที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เป็นการสนทนากับบุคคลใกล้ชิด สนิทสนม หรือได้รู้จักกันมาบ้างแล้ว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแนะนำตัวกันอีก อย่างไรก็ตาม การสนทนาประเภทนี้ก็จะต้องเริ่มจากการทักทายกันแล้วจึงสนทนาในเรื่องต่าง ๆ ต่อไป
การสนทนากับบุคคลแรกรู้จัก เป็นการสนทนากับบุคคลที่ได้พบกันครั้งแรก ดังนั้นจึงควรจะเริ่มด้วยการแนะนำตัวเองก่อน หรือมีคนกลางช่วยแนะนำให้รู้จักกันก่อน แล้วจึงเริ่มสนทนาต่อไปตามมารยาทที่มีในสังคม เพื่อให้นักเรียนนักเรียนได้รู้มารยาทสังคมในการแนะนำตนเอง และการแนะนำให้รู้จักกัน ก็จะขอ

การพูดสนทนา
คำว่า สนทนา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความไว้คือ การคุยกัน การพูดจาหารือกัน ดังนั้นคำจำกัดความของ การสนทนา คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยความคิดเห็น ความรู้สึก ซึ่งกันและกัน
ตามปกติแล้วการสนทนาจะเริ่มด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาพบปะกัน แล้วมีการทักทายกันก่อน หลักจากนั้นจึงเป็นการสนทนากันต่อไป โดยผลัดกันเป็นผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งหากนักเรียนลองทบทวนจากประสบการณ์ของตนเอง นักเรียนจะพบว่าการสนทนานี้มีการสนทนานี้มี 2 แบบ คือ การสนทนากับบุคคลที่รู้จักกันดีแล้ว และการสนทนากับบุคคลแรกรู้จัก

การพุดโน้มน้าวใจ/จูงใจ

การพูดจูงใจ:รางวัลในตนเองอานนท์ ตันติวิวัฒน์
-
กล่าวทักทายอาจารย์และเพื่อนๆในชั้นเรียน/
สวัสดีครับวันนี้ผมจะมาพูดเรื่องรางวัลในตนเอง ท่านที่อยู่ในห้องนี้ ท่านทราบรึเปล่าว่าอะไรคือรางวัลในชีวิตคุณ การที่เรียนจบ การมีแฟน การได้ไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นรางวัลในชีวิตคุณหรือยัง พวกคุณอาจจะคิดว่าสิ่งที่ดูมีความสุขเล็กๆน้อยๆ เหล่านี้คือรางวัลในชีวิตคุณแล้ว แต่สำหรับผมแล้วผมคิดว่ามันยังไม่ใช่ ทุกท่านลองคิดดูดีๆว่ารางวัลในชีวิตที่ดีของคุณคืออะไร ผมมีนิทานเรื่องหนึ่งจะเล่าให้ทุกท่านฟัง ถ้าท่านได้ฟังแล้วท่านอาจจะพบคำตอบว่ารางวัลในชีวิตคุณคืออะไรที่เป็นบ่อเกิดแห่งรางวัลต่างๆ นิทานเรื่องนี้มีอยู่ว่า มีสุนัขแก่กับเจ้าของผู้เป็นนายของมันอยู่นะดินแดนเทือกเขาอันสงบสุข สุนัขตัวนี้ร่าเริง มันจะติดตามนายของมันไปล่าสัตว์ทุกวันทุกครั้งมันไม่เคยทำหน้าที่ของมันบกพร่องเลย เป็นสุนัขรับใช้ที่ดีและซื่อสัตย์ ต่อมาเวลาได้ล่วงเลยผ่านไปต่อมาเวลาได้ล่วงเลยผ่านไปมันไม่สามารถที่จะวิ่งเร็วเหมือนดังแต่ก่อน ผลที่มันไดรับก็คือการเฆี่ยนตีจากเจ้าของอย่างทารุณ มันจึงกล่าวด้วยเสียงอันชรา “นายท่านกำลังใจข้ายังเหมือนเดิมแต่กำลังกายข้าร่วงโรยไปตามวัย ฟันของข้าหลุดเกือบหมด เสียเวลาเปล่าที่ท่านจะมาเฆี่ยนตีข้า ดูท่านซิยังไม่สามารถยับยั้งความแก่ของข้าได้เลยแล้วข้าจะไปทำงานได้เหมือนตอนหนุ่มๆได้อย่างไร” ท่านได้ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร-(ถามผู้ฟังสัก 1 คน)- ถ้าคิดดูดีๆแล้วการที่สุนัขทำงานมาจนมันแก่จนรางวัลที่มันได้รับคือการเฆี่ยนตีจากเจ้าของแต่มันก็ไม่เคยโกรธนายมันเลย เพราะอะไรครับก็เพราะว่ามันมีรางวัลในตนเอง มีรางวัลในใจที่ไม่ได้เป็นรูปธรรมเพราะมันมีกำลังใจที่จะซื่อสัตย์ในหน้าที่ของมัน เมื่อมามองดูคนเราหากมีรางวัลในตนเองแล้วรางวัลอื่นก็ตามมารางวัลในที่นี้คือสิ่งที่เป็นนามธรรมที่อยู่ในใจอาจจะเป็น ความสบายใจ ใจสู้ กำลังใจ เป็นต้น เช่นถ้าเราโดนดูถูกเราเก็บมันไว้ให้เป็นรางวัลที่จะผลักดันให้เราทำสิ่งที่เขาดูถูก หรือถ้าเราได้คำชมเราก็เก็บมาเป็นรางวัลที่จะทำให้เราทำเพื่อรางวัลนี้อีก สุนัขมันยังมีรางวัลในตัวมัน เราเป็นคนเป็นมนุษย์จะไม่สร้างรางวัลในตนเองให้ชีวิตของเราบ้างหรือครับ
สุดท้ายผมมีเพลงที่คุ้นหูมาร้องสักท่อนให้เป็นรางวัลแก่ทุกคน มีดวงตะวัน ส่องเป็นแสงสีทอง กระจ่างครรลอง ให้ใฝ่ปองและสร้างสรรค์ เมื่อดอกไม้ แย้ม บาน ให้คนหาญสู้ไม่หวั่น คือ รางวัล แด่ความฝันอันยิ่งใหญ่ ให้ เธอ..

การพูดในโอกาศต่างๆ


การพูดในโอกาสต่างๆ
เขียนโดย admin เมื่อ พุธ, 05/07/2008 - 08:01.
การพูดในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น นอกจากจะสื่อความรู้ความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ แล้ว ยังต้องสื่ออารมณ์ ความรู้สึกถ่ายทอดไปสู่กันและกันด้วย ฉะนั้นการพูดจากันนอกจากจะพูดคุยกันตามปกติแล้วยังมีการพูดในโอกาสพิเศษ เช่น การพูดในงามมงคล งานศพ การเข้าสมาคมในโอกาสต่าง ๆ จึงจำเป็นสำหรับทุกคนที่ต้องฝึกฝนการใช้คำพูดให้ถูกต้องไพเราะเหมาะสม เหมาะกับเหตุการณ์ การพูดในโอกาสต่าง ๆ ที่ควรทราบ เช่น การพูดแนะนำ การพูดแสดงความยินดี การพูดแสดงความเสียใจ การกล่าวขอบคุณ การกล่าวต้อนรับ การพูดอวยพร การพูดสนทนาทางโทรศัพท์ การพูดเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ๑. การพูดแสดงความยินดีในบางโอกาสผู้ที่เราพบปะหรือคุ้นเคยอาจจะประสบโชคดี มีความสมหวังหรือ มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตและการงานเราควรจะต้องพูดแสดงความยินดีเพื่อร่วมชื่นชมในความสำเร็จนั้น๑.๑ วิธีการ๑) ใช้คำพูดให้ถูกต้องเหมาะสม๒) ใช้น้ำเสียง ท่าทาง สุภาพ นุ่มนวล ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส๓) พูดช้า ๆ ชัดถ้อยชัดคำ พูดสั้น ๆ ให้ได้ใจความและประทับใจ๑.๒ ตัวอย่าง“ขอแสดงความยินดีกับคุณที่ได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้านในหมู่บ้านของเรา เลือกคุณด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นมาก ขอให้คุณเป็นผู้นำของพวกเรานาน ๆ สร้างความ เจริญแก่ชุมชนของพวกเราตลอดไปนะครับ ผมดีใจด้วยและขอสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ความสามารถเลยครับ”๒. การพูดแสดงความเสียใจในบางโอกาสญาติพี่น้องหรือคนที่เรารู้จักประสบเคราะห์กรรมผิดหวัง เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต เป็นมารยาทที่ดีที่เราควรพูดปลอบใจให้กำลังใจแก่ผู้ประสบเคราะห์กรรมเหล่านั้น หรือพูดปลอบใจแก่ญาติพี่น้องของผู้เคราะห์ร้ายนั้น เพื่อให้เขาเกิดกำลังใจต่อไป๒.๑ วิธีการ๑. พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นเรื่องปกติ๒. แสดงความรู้สึกห่วงใยร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย๓. พูดด้วยน้ำเสียงแสดงความเศร้าสลดใจ๔. พูดด้วยวาจาที่สุภาพ๕. ให้กำลังใจและยินดีที่จะช่วย๒.๒ ตัวอย่าง"ดิฉันขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งที่ทราบว่าคุณพ่อของคุณถึงแก่กรรมอย่างปัจจุบันทันด่วนอย่างนี้ ท่านไม่น่าจากเราไปรวดเร็วเลยนะ ดิฉันเห็นใจคุณจริง ๆ ขอให้คุณทำใจดี ๆ ไว้ความตายเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนเลย จะให้ดิฉันช่วยอะไรก็บอกมาเลยไม่ต้องเกรงใจ ดิฉันยินดีช่วยด้วยความเต็มใจจริง ๆ นะคะ”
๓. การพูดแนะนำการพบปะบุคคลซึ่งเคยรู้จักกันมาก่อนและบุคคลอื่น ซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก่อนที่จะรู้จักกัน ย่อมจะต้องมีการแนะนำให้รู้จักกัน เพื่อคุยเรื่องอื่น ๆ ต่อไป การแนะนำให้รู้จัก กันมีทั้งการแนะนำ ตนเองและแนะนำผู้อื่น๓.๑ การแนะนำตนเอง คือ การกล่าวถึงตนเองให้ผู้อื่นรู้จัก โอกาสในการแนะนำตนเองมีต่าง ๆ ดังนั้น๑) ในการติดต่อกัน๒) ในการประชุม ชุมนุมพิเศษหรืองานเลี้ยงต่าง ๆ๓) ในฐานะเป็นสมาชิกใหม่ของชุมชนหรือสถาบัน๔) ในการเข้าสอบสัมภาษณ์๕) ในการไปติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นวิธีการพูดแนะนำตนเอง๑) การกล่าวถึงเรื่องต่อไปนี้๑. คำนำคือ กล่าวทักทายผู้ฟังและอารัมภบท เช่น“ท่านประธานและท่านสุภาพชนทุกท่าน”ท่านประธาน พิธีกรและเพื่อนสมาชิก”๒. ชื่อและนามสกุล๓. ถิ่นกำเนิด๔. การศึกษา๕. ความรู้ความสามารถพิเศษ๖. ตำแหน่งหน้าที่การงาน๗. งานอดิเรก (ถ้ามี)๘. หลักหรือแผนการในการดำเนินชีวิต๙. ที่อยู่ปัจจุบันการกล่าวถึงจะมากน้อย หรือจะตัดเรื่องใดออกหรือพลิกแพลง อย่างไรขึ้นอยู่กับสถานที่บุคคลและโอกาสต่าง ๆ ดังกล่าว๒) แทรกเรื่องราวของชีวิตที่เด่นที่สุด ประทับใจที่สุด หรือเรื่องที่ทำให้เรื่องราวมีรสชาติ น่าสนใจ และเป็นที่ประทับใจผู้ฟัง๓) เรียบเรียงเรื่องราวให้สัมพันธ์กันโดยไม่สับสน การลำดับเรื่องราวเป็นเทคนิคเฉพาะตน๔) ข้อความที่กล่าวจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของสถานที่บุคคลและโอกาสด้วย
ตัวอย่างการแนะนำตนเองในที่ชุมนุมชนท่านประธาน และสมาชิกชมรมพัฒนาชีวิตทุกท่านดิฉันขอขอบคุณพิธีกรมากค่ะ ที่ให้โอกาสดิฉันได้แนะนำตัวเอง ดิฉันนางสาวสมศรี รัตนสุนทร เกิดไกลหน่อยคืออำเภอปัว จังหวัดน่านค่ะ มาอยู่กรุงเทพฯ นี่ ๔ ปีแล้ว โดยดิฉัน ทำงานเป็นพนักงานขาย ที่ร้านใบแก้ว ดิฉันเรียนจบชั้นมัธยมปีที่สามที่โรงเรียนใกล้บ้าน นั่นเองค่ะ ความที่เป็นคนช่างพูด หลังจากจบแล้วเพื่อนชวนมาทำงานที่ถูกกับนิสัยก็เลยมา และเนื่องจากดิฉันไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ จึงเห็นว่าการศึกษาทางไกลนี้จะช่วยให้ดิฉันพัฒนาชีวิตได้ดียิ่งขึ้นแทนการศึกษาในโรงเรียน จึงสมัครเป็นสมาชิก และต่อไปจะตั้งใจเรียน และร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกกิจกรรมค่ะ ปัจจุบันดิฉันพักอยู่ที่ร้านที่ดิฉันทำงานนั่นแหละค่ะถ้ามีเรื่องใดจะให้ทำติดต่อได้ที่ร้านนั่นเลยสำหรับที่อยู่ของร้าน มีอยู่ในทะเบียนบัญชีรายชื่อ นักศึกษาแล้วค่ะ สวัสดีค่ะ๓.๒ การแนะนำผู้อื่น คือ การแนะนำบุคคลที่ ๓ ให้บุคคลที่ ๒ รู้จักในโอกาสต่าง เช่นเดียวกับการแนะนำตนเอง
วีการแนะนำผู้อื่นใช้หลักการอย่างเดียวกับการแนะนำตนเองและคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้เพิ่มเติมคือ๑) แนะนำสั้น ๆ๒) แนะนำเฉพาะเรื่องที่เป็นปมเด่น เรื่องที่เป็นปมด้อยหรือเรื่องที่ไม่เหมาะสมไม่ควรกล่าวถึง เรื่องที่แนะนำควรได้รับอนุญาตจากผู้ถูกแนะนำก่อน๓) การแนะนำระหว่างสุภาพบุรุษกับสุภาพสตรี ต้องแนะนำให้สุภาพบุรุษรู้จักสุภาพสตรี โดยกล่าวนามสุภาพสตรี เช่น “คุณสุดาครับ นี่คุณพนัส รักความดี สมุห์บัญชีธนาคารออมสินสาขานนทบุรี คุณพนัส นี่คุณสุดา มณีแก้วครับ สมุห์บัญชีธนาคารกรุงไทย สาขานนทบุรีในการแนะนำ ถ้าสุภาพบุรุษนั่งอยู่ควรยืนขึ้น แต่สุภาพสตรีถ้านั่งอยู่และได้รับการแนะนำไม่ต้องยืน ถ้าเป็นการแนะนำหลายคนจะนั่งลงเมื่อแนะนำครบทุกคนแล้ว๔) แนะนำผู้อ่อนอาวุโสให้รู้จักผู้อาวุโส โดยเอ่ยนามผู้อาวุโสก่อน เช่น “คุณแม่คะ นี่น้องเพื่อนของลูก” “ผู้จัดการคะ นี่คุณสมพงษ์ ใจซื่อ ประชาสัมพันธ์โรงแรมลานทองค่ะ คุณสมพงษ์คะ นี่คุณสวัสดิ์ เรืองรอง ผู้จัดการบริษัทสมบูรณ์ที่คุณต้องการพบค่ะ”ในเรื่องอาวุโสถือตามวัยวุฒิ บางโอกาสถือตามตำแหน่งหน้าที่การงานผู้แนะนำต้องคำนึงตามโอกาสให้เหมาะด้วย๕) การแนะนำบุคคลต่อที่ประชุมหรือชุมชนต่าง ๆ เอ่ยถึงกลุ่มชนก่อน เช่น “ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ผู้พูดช่วงเวลาต่อไปนี้คือ คุณปราโมทย์ พงษ์ทอง ผู้อำนวยการวิทยาลัยนานา ท่านจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ทางด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และจบปริญญาโททางด้านบริหารการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ประสบการณ์ของท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยนานาและทำหน้าที่บริหารงานมา ๕ ปีแล้วผลิตบัณฑิตจนถึง ๔ รุ่น วันนี้ท่านสละเวลาให้เกียรติมาบรรยายเรื่อง “การศึกษากับการพัฒนาชนบท” เชิญท่านรับฟังแนวคิดของวิทยากรได้แล้วครับ๖) การแนะนำบุคคลรุ่นเดียวกัน เพศเดียวกัน จะแนะนำใครก่อนหลังก็ได้ข้อปฏิบัติสำหรับการแนะนำเมื่อผ่านการแนะนำแล้ว ผู้อ่อนอาวุโสยกมือไหว้ผู้อาวุโส และผู้อาวุโสกว่ารับไหว้ ถ้าอาวุโสเท่าเทียมกันก็ยกมือไหว้พร้อมกัน แต่ปัจจุบันมักก้มศีรษะให้แก่กันพอเป็นพิธีก็ได้ การแนะนำในที่ประชุมเมื่อผู้รับการแนะนำต่อที่ประชุมถูกเอ่ยชื่อ ควรยืนขึ้นคารวะต่อ ที่ประชุมและที่ประชุมปรบมือต้อนรับ
๔. การกล่าวขอบคุณการกล่าวขอบคุณอาจใช้ได้หลายโอกาส เช่น การกล่าวขอบคุณเมื่อผู้พูดหรือวิทยากรพูดจบ กล่าวขอบคุณเมื่อมีผู้กล่าวต้อนรับ กล่าวขอบคุณผู้มาร่วมงานหรือในกิจกรรมกล่าวขอบคุณเมื่อมีผู้มอบของขวัญหรือของที่ระลึก ขอบคุณแต่ละโอกาสดังต่อไปนี้๔.๑ การกล่าวขอบคุณผู้พูด เมื่อผู้พูดพูดจบลงผู้กล่าวขอบคุณหรือผู้ที่ทำหน้าที่พูดแนะนำควรจะกล่าวสรุปเน้นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการพูดครั้งนี้อย่างสั้น ๆ แล้วจึงกล่าวขอบคุณ๔.๒ การกล่าวขอบคุณเมื่อมีผู้กล่าวต้อนรับหรือการกล่าวตอบรับ เมื่อผู้กล่าวต้อนรับ พูดจบแล้ว ผู้กล่าวตอบรับควรจะกล่าวตอบในลักษณะที่แสดงความรู้สึกที่มีต่อการต้อนรับ และเนื้อหา ในการกล่าวตอบรับจะต้อง สอดคล้องกับการกล่าวต้อนรับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความสัมพันธ์ อันดีของทั้งสองฝ่ายที่มีต่อกัน ผู้กล่าวขอบคุณควรจะเน้นจุดสำคัญ และกล่าวเชื้อเชิญให้ผู้ต้อนรับ ไปเยือนสถานที่ของตนบ้าง๔.๓ การกล่าวขอบคุณผู้มาร่วมในงานหรือในกิจกรรม ในการกล่าวขอบคุณผู้มาร่วมในงาน หรือในกิจกรรมนั้นควรแสดงไมตรีจิตต่อแขกที่มาร่วมในงานแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจ และกล่าวขออภัยในความบกพร่อง ของกิจกรรมที่จัดขึ้น๔.๔ การกล่าวขอบคุณหรือตอบรับเมื่อมีผู้มอบของขวัญหรือของที่ระลึก ผู้กล่าวตอบรับควรจะได้แสดงความชื่นชมในสิ่งของที่ได้รับมอบและกล่าวถึงความรู้สึกหลังจากได้รับ มอบสิ่งของนั้นแล้ว
วิธีการกล่าวขอบคุณ๑) การขอบคุณ การพูดหรือขอบคุณ ใช้ในโอกาสที่มีผู้อื่นได้ช่วยเหลือหรือมีบุญคุณ แก่เราถือว่าเป็นมารยาทที่จะต้องแสดงความยินดีและกล่าวขอบคุณในน้ำใจของเขา คือ เป็นการแสดงออกถึงการรู้คุณผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีงามที่ควรรักษาไว้อย่างยิ่ง๑. คำว่า ขอบใจ นิยมใช้พูดเพื่อแสดงความขอบใจแก่คนที่มีอายุน้อยกว่าเราเช่นพี่ขอขอบใจน้องมากที่ช่วยยกกระเป๋าให้๒. คำว่า ขอบคุณ นิยมใช้พูดเพื่อแสดงความขอบคุณสำหรับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ที่มีอาวุโสกว่าผู้พูด เช่นผมขอขอบคุณคุณนิคมมากที่มาส่งผมที่สถานีรถไฟวันนี้๓. หากต้องการยกย่องเทิดทูนผู้ที่ตนเคารพนับถือมาก ที่ท่านกรุณาช่วยเหลือเรา หรือให้สิ่งใดแก่เราก็ควรกล่าวว่า ขอบพระคุณ เช่นลูกขอกราบขอบพระคุณคุณพ่อคุณแม่มากที่ซื้อของมาฝาก๔. ควรพูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ชวนฟัง สุภาพ ไม่รีบร้อนจนเกินไป๕. ควรแสดงท่าทางที่เป็นมิตร นอบน้อม มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส๖. ควรพูดให้ผู้ฟังรู้สึกว่า เราซาบซึ้งในพระคุณและจะพยายามหาโอกาสที่จะตอบแทนในโอกาสต่อไป๗. หากเป็นการกล่าวขอบคุณในนามตัวแทน หมู่คณะ ควรพูดให้ชัดเจนว่า กล่าวขอบคุณในนามของหมู่คณะใด เนื่องในโอกาสอะไร ขอบคุณใคร พูดให้สั้น กะทัดรัดได้ความดี๘. โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเป็นการขอบคุณผู้ที่เคารพนับถือ หรือผู้มีอาวุโสมากกว่าเราการกล่าวขอบคุณมักจะกล่าวพร้อม ๆ กับยกมือไหว้ด้วยเสมอตัวอย่างการกล่าวขอบคุณ๑) การกล่าวขอบคุณผู้มีอาวุโสกว่าดิฉันรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของท่านกำนันเป็นอย่างยิ่งที่ได้มอบโต๊ะเก้าอี้ จำนวน๑๐ ชุด แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนนี้ นับเป็นบุญกุศลอันดียิ่งที่เด็ก ๆ จะได้มีโต๊ะ เก้าอี้พอเพียงแก่การศึกษาเล่าเรียน ดิฉันและเด็ก ๆ มีความยินดีในเมตตาจิตของ ท่านกำนันเป็นอย่างมาก จึงขอกราบขอบพระคุณในความกรุณาของท่านกำนัน ไว้ ณ ที่นี้ขอกราบขอบพระคุณค่ะ (พูดจบพร้อมกับยกมือไหว้)๒) การกล่าวขอบคุณในนามหมู่คณะบุคคลผมในนามผู้นำชาวบ้านท่าเวียง ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงต่อท่านนายอำเภอ ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากอำเภอทุกท่านที่ได้มาบริการความสะดวกสบายแก่ประชาชนในบ้านท่าเวียงโดยการนำอำเภอเคลื่อนที่มาบริการวันนี้หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่องในการต้อนรับขับสู้ผมและชาวบ้านก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยผมและชาวบ้านทุกคนรู้สึก ซาบซึ้งและยินดีในความกรุณาของท่านนายอำเภอและเจ้าหน้าที่ทุกท่านผมในนามชาวบ้านท่าเวียงไม่มีสิ่งใดจะตอบแทนนอกจากจะขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ (ยกมือไหว้)๕. การกล่าวอวยพรการพูดอวยพร มักใช้ควบคู่ไปกับการแสดงความยินดีหรือแสดงความปรารถนาดี เพราะก่อนจะอวยพรมักต้องแสดงความยินดีมาก่อน หรือถ้าเป็นการกล่าวแสดงความยินดีโดยแท้จริงก็มักลงท้ายด้วยการอวยพรการอวยพรมีหลายโอกาส เช่น ในงานมงคลสมรส งานวันเกิด งานวันปีใหม่ขึ้นบ้านใหม่ ตลอดจนการอวยพรของผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งมักเรียกว่า อำนวยพร (อำนวยอวยพร อวยชัยให้พร ให้ศีลให้พร) แก่ลูกหลาน ลูกศิษย์ ผู้ใต้บังคับบัญชา ฯลฯ ข้อปฏิบัติโดยทั่วไปในการพูดอวยพรมีดังนี้๑) พูดด้วยท่าทีร่าเริงเป็นการแสดงความยินดีไปในตัว๒) เริ่มต้นด้วยเสียงค่อนข้างดังเล็กน้อย เป็นการเรียกความสนใจเพราะงานชนิดนี้ มักมีเสียงรบกวนมาก ข้อความตอนต้นควรเป็นใจความง่าย ๆ สั้น ๆ๓) ควรดำเนินเรื่องให้เป็นไปตามความเหมาะสม เช่น ถ้าเป็นงานวันเกิด ควรกล่าวถึงความสำคัญในวันเกิด แล้วจึงพูดถึงคุณงามความดี และเกียรติคุณของเจ้าภาพตามสมควร ถ้าเป็นการแต่งงาน ควรเริ่มด้วยการบอกกล่าว ถึงความสัมพันธ์ของท่านกับคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย ถ้าผู้พูดรู้จักทั้งคู่ ถ้ามีประสบการณ์มากพอควรให้ข้อคิดในชีวิตการสมรส แล้วกล่าวแสดงความยินดีที่ทั้งสองฝ่ายได้สมรสกัน อันจะเป็นการก่อสร้างรากฐาน เป็นครอบครัวที่ดีต่อไป๔) ลงท้ายด้วยการกล่าวคำอวยพร ขอให้มีความสุขความเจริญก้าวหน้าสืบต่อไปการพูดอวยพรถือเป็นการพูดในงานมงคล ไม่ควรจะให้มีถ้อยคำซึ่งไม่น่าปรารถนา (ไม่เป็นมงคล) ในคำกล่าว เช่น ในงานวันเกิด ไม่ควรมีคำว่า “ตาย” “แก่” “เจ็บป่วย” ฯลฯ ในงานสมรสไม่ควรมีคำว่า “แต่งงานใหม่” ฯลฯ อยู่ด้วยจะดีมาก ไม่ควรพูดยืดยาว ซ้ำซาก ควรทักทายที่ประชุมให้ถูกต้องตามลำดับ คำขึ้นต้นควรให้เร้าความสนใจตอนจบใช้ถ้อยคำ ให้ประทับใจ ในเรื่องจะกล่าวถึง การกล่าวอวยพรเฉพาะงานมงคลที่ใช้กันอยู่เสมอ คือ๕.๑ การกล่าวอวยพรในงานมงคลสมรส การกล่าวในพิธีมงคลสมรส จะใช้เวลาไม่เกิน ๑๐ นาที โดยปกติจะใช้เวลา ๕ – ๗ นาที นิยมพูดปากเปล่า ซึ่งมีหลักการกล่าวที่ควรยึดเป็นแนวปฏิบัติ ดังนี้๑) กล่าวคำปฏิสันถาร๒) กล่าวถึงความรู้สึกว่าเป็นเกียรติที่ได้ขึ้นมาอวยพร๓) ความสัมพันธ์ของผู้พูดกับคู่บ่าวสาว๔) ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิตและการครองรัก๕) อวยพรและเชิญชวนให้ดื่มอวยพร๕.๒ การกล่าวอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ การกล่าวคำอวยพรในวันขึ้นปีใหม่มักจะพูดปากเปล่า โดยมีหลักที่ควรยึดเป็นแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้๑) กล่าวคำปฏิสันถาร๒) กล่าวถึงชีวิตในปีเก่าที่ผ่านมา๓) กล่าวถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในปีใหม่๔) อวยพร๕.๓ การกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด การกล่าวในพิธีดังกล่าวนิยมพูดปากเปล่า มีหลักการที่ควรยึดเป็นแนวการปฏิบัติในการกล่าวดังนี้๑) คำปฏิสันถาร๒) กล่าวรู้สึกเป็นเกียรติที่มีโอกาสกล่าวคำอวยพร๓) การสร้างคุณงามความดี หรือพูดถึงความสัมพันธ์ที่ผู้พูดมีต่อท่านผู้นั้น๔) การเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน๕) อวยพรให้มีความสุขวิธีการกล่าวอวยพร มีข้อปฏิบัติที่ควรจำดังนี้๑. ควรกล่าวถึงโอกาสและวันสำคัญนั้น ๆ ที่ได้มาอวยพรว่าเป็นวันสำคัญอย่างไรในโอกาสดีอย่างไร มีความหมายแก่เจ้าภาพหรือการจัดงานนั้น อย่างไรบ้าง๒. ควรใช้คำพูดที่สุภาพ ไพเราะ ถูกต้อง เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง๓. ควรกล่าวให้สั้น ๆ ใช้คำพูดง่าย ๆ ฟังเข้าใจดี กะทัดรัด กระชับความ น่าประทับใจ๔. ควรกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้อวยพรกับเจ้าภาพ กล่าวให้เกียรติ ชมเชยในความดีของเจ้าภาพและแสดงความปรารถนาดีที่มีต่อเจ้าภาพ๕. ควรใช้คำพูดอวยพรให้ถูกต้อง หากเป็นการอวยพรผู้ใหญ่นิยมอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือมาประทานพรตัวอย่างการกล่าวอวยพรวันเกิดวันนี้เป็นวันอันเป็นมงคลยิ่งคือวันเกิดของหลานรักของลุงลุงมีความยินดีอย่างยิ่ง ที่เห็นหลานโตวันโตคืน ตลอดเวลา๑๐กว่าปีที่ผ่านมาลุงเฝ้าดูความเจริญ ของหลาน ด้วยความชื่นใจ มาวันนี้ครบรอบวันเกิดปีที่ ๑๑ แล้วลุงขอให้หลานรักมีแต่ความสุข ความเจริญ มีอายุมั่นขวัญยืน เป็นที่รักของปู่ย่าตายายตลอดไป
ตัวอย่างการอวยพรคู่บ่าวสาวสวัสดี……ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่านผมรู้สึกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติ จากเจ้าภาพให้ขึ้นมากล่าวในวันนี้ ผมขอกล่าวจากความรู้สึกที่ได้มา พบเห็นงานมงคลสมรสในวันนี้ ผมประทับใจมากที่ได้เห็นใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ทั้งคู่มีความเหมาะสมกันดีมาก ทั้งผมเองก็เป็นผู้ที่เคย ทำงานร่วมกันมาทั้งสองคน รู้สึกชอบพออัธยาศัยเป็นอย่างดีและ เห็นว่าทั้งคู่ มีความเข้าอกเข้าใจ ซื่อสัตย์ รักมั่นต่อกันมานานปี เมื่อมางานมงคลสมรสครั้งนี้จึงมีความปลื้มปีติเป็นอย่างมากที่ทั้งสองมีความสมหวังสมปรารถนาด้วยกัน ผมหวังว่าทั้งสองจะครองรักกันให้มั่นคงจีรังได้นานแสนนาน จึงขออวยพรให้คู่บ่าวสาว จงรักกัน เข้าใจกัน ทะนุถนอมน้ำใจ มีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกันและรู้จักให้อภัยต่อกัน ให้มีความร่มเย็นเป็นสุขทุกคืนทุกวัน สวัสดีครับ ……๖. การกล่าวต้อนรับในโอกาสที่มีผู้มาใหม่ เช่น เจ้าหน้าที่ใหม่ นักศึกษาใหม่ หรือผู้ที่มาเยี่ยมเพื่อ พบปะชมกิจการ ในโอกาสเช่นนี้จะต้องมีการกล่าวต้อนรับเพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีและแสดง ความยินดี ผู้กล่าวต้อนรับควรเป็นผู้มีฐานะ มีเกียรติเหมาะสมกับฐานะผู้มาเยือน ถ้าเป็นการ กล่าวต้อนรับนิสิตหรือนักศึกษาใหม่ก็มุ่งหมายที่จะให้ความอบอุ่นใจ และให้ทราบถึง สิ่งที่ควรปฏิบัติร่วมกันในสถานศึกษานั้น ๆ เป็นต้น การกล่าวต้อนรับควรยึดแนวปฏิบัติดังนี้๖.๑ เริ่มด้วยการกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับผู้มาใหม่ (ผู้มาเยี่ยม หรือผู้มาร่วมงาน)๖.๒ กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการเยี่ยมเยือน เพื่อให้เห็นว่าฝ่ายต้อนรับนั้นเห็นความสำคัญของการเยี่ยม ถ้าเป็นผู้ร่วมงาน ก็ควรกล่าวถึงหน้าที่การงาน กิจการในปัจจุบันที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้มาใหม่ ถ้าเป็นนิสิตหรือนักศึกษาใหม่ ก็ควรชี้ให้เห็นคุณค่าและความจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิชาต่าง ๆ แนะนำให้รู้จักสถานศึกษา รวมทั้งให้รู้สึกภูมิใจที่ได้มาศึกษาในสถานศึกษาแห่งนั้น๖.๓ แสดงความหวังว่าผู้มาเยี่ยมจะได้รับความสะดวกสบายระหว่างที่พำนักอยู่ในสถานที่นั้น หรือระหว่างการเยี่ยมเยือนนั้น๖.๔ สรุปเป็นทำนองเรียกร้องให้อาคันตุกะกลับมาเยี่ยมเยือนอีก ส่วนในกรณีที่เป็นผู้มาใหม่ก็หวังว่าจะได้ร่วมงานกันตลอดไปด้วยความราบรื่นวิธีการกล่าวต้อนรับ๑. ควรกล่าวต้อนรับสั้น ๆ และไม่ควรพูดเกิน ๑๕ นาที๒. ในกรณีผู้มาเยี่ยมนั้นมาเป็นกลุ่มในนามของสถาบัน เช่น องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเยี่ยมองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้กล่าวต้อนรับ จะกล่าวแสดงความยินดีและกล่าวอ้างถึง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองสถาบัน พร้อมทั้งย้ำถึงความร่วมมือของสถาบันทั้งสองในโอกาสต่อไปด้วย จะจบด้วยการสรุปตามหลักข้างต้นก็ได้
๗. การพูดสนทนาทางโทรศัพท์การติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์นับเป็นการสื่อสารที่รวดเร็ว สะดวก ประหยัดและแทบจะใช้ได้ทั่วโลกอย่างไม่จำกัดพื้นที่ จึงเป็นการสื่อสารที่นิยมกันมากที่สุด การพูดโทรศัพท์มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างมากในการดำรงชีวิต ดังนั้นควรต้องระมัดระวังการใช้คำพูดในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ควรได้มีการศึกษาที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับมารยาท ประเพณีปฏิบัติที่ควรทำในขณะติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ ซึ่งมีหลักดังนี้ภาษาที่ใช้ในการพูดโทรศัพท์ การพูดโทรศัพท์ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนี้๗.๑ กล่าวทักทายเมื่อรับโทรศัพท์ด้วยคำว่า “สวัสดี” พร้อมทั้งแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ให้ทราบ และถามความประสงค์ของผู้ที่โทรมาว่าต้องการติดต่อกับใคร เรื่องอะไร แล้วรีบติดต่อให้ทันที หากผู้ที่ต้องการติดต่อไม่อยู่ ก็ถามความประสงค์ของผู้ที่โทรว่าต้องการฝากข้อความ หรือเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้ภายหลังหรือไม่๗.๒ กรณีที่เราเป็นผู้ติดต่อไป ควรตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ให้ถูกต้องเสียก่อน และระบุชื่อผู้รับให้ชัดเจน หากต้องขอร้องให้ผู้รับสายไปตามให้ ต้องขอบคุณผู้รับสายทันที ในกรณีที่ต้องฝากข้อความหรือเบอร์โทรกลับ ควรเป็นข้อความที่ชัดเจนและสั้นที่สุด๗.๓ การพูดโทรศัพท์ควรใช้เวลาจำกัด พูดคุยเฉพาะเรื่องที่จำเป็นโดยเฉพาะโทรศัพท์สาธารณะหรือโทรศัพท์ที่มีผู้ใช้ร่วมด้วยหลายคน เช่น หน่วยงาน องค์การ บริษัท และควรใช้ภาษาน้ำเสียงที่ชัดเจน สุภาพและเป็นมิตร๗.๔ ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม เลือกคำที่จำเป็นมาใช้ เช่น ขออภัย ขอโทษ ขอบคุณ กรุณา ฯลฯ๗.๕ ในกรณีมีผู้โทรมาผิด ควรบอกสถานที่ที่ถูกต้องให้ทราบหรือถ้าเราโทรไปผิดก็ควรจะกล่าวคำขอโทษอย่างสุภาพ๗.๖ ในขณะโทรศัพท์หากมีความจำเป็นต้องหยุดพูดชั่วขณะต้องบอกให้ผู้ที่กำลังพูดโทรศัพท์อยู่ทราบและขอให้รอ เช่น กรุณารอสักครู่นะครับ๗.๗ ไม่ควรวางหูโทรศัพท์ก่อนจบการพูดและไม่ควรปล่อยให้ผู้โทรศัพท์มาคอยนาน๗.๘ ไม่อม ขบเคี้ยวอาหารขณะโทรศัพท์๗.๙ ไม่ปล่อยโทรศัพท์เรียกสายนานเกินไป

การพูดเเนะนำตัว


การพูดแนะนำตัวเอง
กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆร่วมชั้นทุกคนนะคะ ดิฉันชื่อนางสาวพินทุ์สุดา มนิราชนะคะ ขณะนี้ศึกษาอยู่ชั้นปีที่สอง คณะการสื่อสารมวลชน เอกหนังสือพิมพ์ บ้านของดิฉันอยู่ที่ จ.กาญจนบุรีค่ะ แต่ว่าก็เลือกมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพราะว่ามันไกลบ้านดี ดิฉันคิดว่าการอยู่ไกลบ้านบ้างจะทำให้เราช่วยเหลือตัวเองได้ และทำให้เราโตขึ้นด้วยค่ะ ส่วนวันนี้นะคะดิฉันก็จะมาพูดเรื่องใกล้ๆตัวนี่แหละคะ ดิฉันจะขอประชาสัมพันธ์งานขยับปีกนะคะ ขยับปีกเป็นละครเวทีของคณะการสื่อสารมวลชน ซึ่งเราจะเริ่มจัดการแสดงในวันที่ 8-10 ธันวาคมนี้นะคะ เพื่อนๆคนไหนสนใจก็สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือว่าติดต่อซื้อบัตรได้ที่นักศึกษาคณะการสื่อสารมวลชนทุกคนเลยนะคะ หรือว่าเพื่อนๆอาจจะดูรายละเอียดได้จากป้าย cut-out ที่อยู่ตามสถานที่ต่างๆภายในมหาวิทยาลัยก็ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ



การพูดต่อหน้าที่ชุมชนมักจะเป็นสถานการณ์ที่สร้างความลำบากใจให้กับผู้พูดเสมอๆ ไม่เว้นแม้แต่ผู้พูดที่เคยมีโอกาสหรือมีประสบการณ์บนเวทีต่อหน้าผู้คนจำนวนมากมาย เนื่องจากสาเหตุสำคัญที่มักสร้างความวิตกกังวลหรือความกลัวนั้นจะมาจากสถานการณ์ที่ย่อมแตกต่างกันไป
การพูดเป็นการแสดงออก เป็นการสื่อสารวิธีหนึ่งโดยอาศัยภาษาถ้อยคำเป็นคำสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการ ทั้งนี้เพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นให้ทราบ ให้เข้าใจ ให้ปฏิบัติตามและให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก การพูดเป็นพฤติกรรมสำคัญของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการของการสื่อสาร โดยในกระบวนการดังกล่าวนั้น การพูดเป็นพฤติกรรมที่กระทำโดยใช้ถ้อยคำภาษา ซึ่งเรียกว่า วัจนภาษา(verbal language)ร่วมกับภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำ แต่เป็นการแสดงออกด้วยท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง ซึ่งเรียกว่า อวัจนภาษา(nonverbal language)ในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย อาจใช้วิธีการสนทนาอย่างสนิทสนมหรือใช้วิธีพูดผ่านสื่อไปยังกลุ่มคนจำนวนมาก ท่ามกลางสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่างๆเพื่อสื่อความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดนั้นย่อมสัมพันธ์กับปฏิกิริยาการตอบสนองของผู้ฟังที่เป็นผู้รับสารด้วย ด้วยเหตุนี้การพูดจึงเป็นกระบวนการสื่อสารแบบ 2 ทางที่ประกอบด้วย ผู้พูดหรือผู้ส่งสาร มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับผู้ฟังหรือผู้รับสาร มีถ้อยคำ กิริยาอาการ หรือสาร โดยมีช่องทางการสื่อสารอย่างใดอย่างหนึ่ง มนุษย์อาศัยการพูดเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆและเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม การพูดถึงมีความสำคัญทั้งต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การประกอบอาชีพ และการบริหารจัดการองค์กร
ความมุ่งมั่นและความตั้งใจจริง เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญอันจะช่วยให้ผู้พูดซึ่งมุ่งหวังจะพัฒนาการพูดต่อหน้าชุมชนและเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากโอกาสที่เอื้ออำนวย นอกเหนือจากความมุ่งมั่นแล้ว คุณสมบัติอื่นๆที่ผู้พูดพึงมีคือทัศนคติที่ดีต่อการพูด ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในเรื่องที่จะพูด ทักษะในการสื่อสารและการรู้จัก ประเมินสถานการณ์เพื่อเตรียมการอย่างเหมาะสม
บทพูดก็มีส่วนช่วยในการพูดด้วยเช่นกัน ร่างบทพูดที่ดี ควรจะมีส่วนช่วยให้ผู้พูดมั่นใจว่าสามารถนำเสนอเนื้อหาได้อย่างชัดเจน ตรงประเด็น ไม่สับสนเวลานำเสนอ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจสาระทั้งหมดตามที่ผู้พูดตั้งใจแล้ว บทพูดที่ดียังมีส่วนช่วยสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟังอีกด้วย
มารยาทของการพูดในที่สาธารณะเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งมีผลต่อการสร้างและทำลายความประทับใจจากผู้ฟัง ผู้พูดที่มีมารยาทดี นอกจากจะมีภาพลักษณ์เป็นที่สร้างความประทับใจในสายตาผู้อื่นแล้ว ยังเป็นการช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ผู้ฟังรู้สึกว่าผู้พูดให้เกียรติ อีกทั้งยังเป็นการรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานใน กรณีที่ผู้พูดในฐานะตัวแทนของหน่วยงานอีกด้วย หมายความถึงการเป็นผู้รู้จักความเหมาะสมในเรื่องของ ภาษาพูด ในการเลือกสรรถ้อยคำภาษาเพื่อทักทายที่ประชุม บุคลิกภาพและการแต่งกาย ปรากฏกายด้วยความแจ่มใส เป็นมิตรกับผู้ฟัง แต่งกายเหมาะสมกับวัย ภาษาท่าทางไม่มากจนเกินงาม และรักษาเวลาของผู้ฟัง
เสียงเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยนำเสนอเนื้อหาในการพูทำให้ผู้ฟังได้ยิน ได้รับรู้เรื่องราว ความรู้สึกนึกคิดของผู้พูด นอกจากจะเสียงจะเป็นสื่อที่ช่วยส่งข้อมูลข่าวสารมายังผู้ฟังแล้ว เสียงยังมีความสำคัญในการพูดคือช่วยถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด แสดงเจตนาของผู้พูด สร้างความน่าสนใจและสร้างความประทับใจ ในการพูดนั้น เสียงพูที่ดีไม่ได้หมายความถึงเฉพาะแต่เสียงที่หวาน กังวานใส ไม่แหบพร่าสั่นเครือ แต่ผู้พูดที่ได้รับการยอมรับและชื่นชมว่าเสียงดีนั้นจะต้องมีความสามารถในการใช้เสียงอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
ความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นความรู้สึกที่ดีที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการแสดงออกในทางบวกโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการพูดในที่ชุมชน ผู้พูดที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เชื่อมั่นในสิ่งที่ตนพูด จะสามารถนำเสนอความคิดและเนื้อหาที่เตรียมไว้อย่างลื่นไหล มีชีวิตชีวา เป็นธรรมชาติ น้ำเสียงชัดเจนไม่ตะกุกตะกัก สั่นเครือ หรืออ้อมแอ้มอยู่ในลำคอ อันที่จริงแล้ว อาการตื่นเต้นก่อนการพูดต่อหน้าผู้ฟังจำนวนมาก หรือผู้ฟังที่ไม่คุ้นเคย หรือบรรยากาศที่เป็นทางการ นับเป็นความรู้สึกที่ดีที่จะช่วยให้ผู้พูดมีความกระตือรือร้นในท่าทางและน้ำเสียง แต่หากว่าเป็นความรู้สึกตื่นกลัวจนไม่สามารถควบคุมอาการประหม่าได้เลยก็ย่อมทำให้เสียภาพลักษณ์ ขาดความน่าเชื่อถือและไม่สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน
เพื่อการเป็นนักพูดที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยการผสมผสานกันระหว่างคุณสมบัติของนักภาษาที่มีทักษะในการใช้ภาษาที่ดี สื่อสารได้เข้าใจ มีศิลปะ และรสนิยม คุณสมบัติของนักจัดการที่สามารถประเมินจัดเตรียมเนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอได้อย่างเหมาะสมน่าประทับใจ คุณสมบัติของนักพูดที่ดีที่รู้จักศิลปะการพูด การใช้เสียง การเคลื่อนไหว บุคลิกภาพ และการแสดงออกที่สัมพันธ์กับเนื้อหา และเหมาะสมกับผู้ฟัง มีสมาธิกับเรื่องที่จะพูดและสื่อสารอยู่กับผู้ฟังของตน โดยไม่กังวลอยู่กับเรื่องอื่นๆ
เอกสารอ้างอิง : พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ. ตุลาคม 2548. การพูดอย่างมั่นใจในแบบที่คุณเป็น. ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ
โรฒ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

ลักษณะของผู้พูดที่ดี

ลักษณะของผู้พูดที่ดี
ผู้พูดที่ดีจะต้องคำนึงถึงระเบียบวินัยที่ดี มีศิลปะในการพูด มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอด
สามารถสื่อความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจตรงกันสมความมุ่งหมายของผู้พูด
ผู้พูดที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. มีการเตรียมพร้อมในการพูดที่ดี ซึ่งอาจแบ่งได้ดังนี้
1.1 เตรียมตน เช่น การสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง เตรียมวิธีการพูด การแสดงท่าทางประกอบ
ศึกษาเทคนิคการพูดของบุคคลอื่นๆ ที่ได้รับความสำเร็จ
1.2 เตรียมเรื่อง เช่น การกำหนดหัวข้อเรื่องที่จะพูด เรื่องที่จะพูดนั้น มีความรู้มากน้อยแค่ไหน
จะค้นคว้าที่ใด อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเกิดประโยชน์แก่ผู้ฟังเพียงใด
1.3 เตรียมการณ์ เช่น การจะพูดนั้น จะต้องวางโครงการเรื่องต่างๆ ไว้ เช่น ข้อมูลอ้างอิงใดๆ บ้าง
จะใช้สำนวนสุภาษิต บทร้อยกรองใดมาอ้างบาง จะต้องวางโครงการเรื่องที่จะพูดไว้ว่าจะใช้เวลาเท่าใด
จึงจะเหมาะสม มีจุดยืนในความคิดที่แน่นอน ไม่วกวนกลับไปกลับมาหรือโกหกตลบตะแลง
1.4 เตรียมใจ เช่น สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี ถ้าผู้ฟังถามแบบลองภูมิ พูดส่อเสียด พูดคุยกันโห่ฮา
เป็นต้น
1.5 เตรียมตอบ เช่น จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถามข้อสงสัย การแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ มีความ
ยุติธรรม ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผล
2. มีการวิเคราะห์ผู้ฟัง เพื่อการพูดประสบความสำเร็จ ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงผู้ฟังเป็นสำคัญ เช่น เพศ
วัย ระดับการศึกษา จำนวนที่รับฟัง อาชีพ ความสนใจ ศาสนา เวลา ลักษณะของที่ประชุม เป็นต้น ถ้า
พิจารณาสิ่งดังกล่าวนี้ ความสำเร็จในการพูดย่อมประสบผลครึ่งค่อนทางแล้ว
3. มีศิลปะในการพูด เช่น การสร้างอารมณ์ขัน มีกริยาท่าทางสุภาพ น้ำเสียงนุ่มนวลน่าฟัง รู้จักเน้นจังหวะช้า
เร็ว หนักเบาในการพูด ไม่พูดด้วยอารมณ์ มีศิลปะในการพูดดี มีถ้อยคำดี พูดถูกต้องตามการสมัย
เหมาะสม กับเวลา เหมาะสมกับบุคคล เหมาะสมกับสถานที่และโอกาส
4. มีความมุ่งมั่น ฝึกฝนการพูดสม่ำเสมอ เช่น ฝึกพูดคนเดียว หรือพูดต่อหน้ากระจก พูดต่อผู้ฟังกลุ่มเล็กๆ และ
กลุ่มใหญ่ๆ เป็นต้น เพื่อจะได้หาความชำนิชำนาญเพื่อนำข้อบกพร่องมาแก้ไขปรับปรุง กลวิธีการพูดของ
ตัวเองให้ดียิ่งขึ้น